ถั่วเหลือง
ถั่วเหลือง ภาษาอังกฤษ Soybean,
Soya bean . ถั่วเหลือง มีชื่อวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับในปัจจุบันคือ Glycine max (L.)
Merr. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว(FABACEAEหรือLEGUMINOSAE)และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)
ถั่วเหลือง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ถั่วแระ ถั่วพระเหลือง ถั่วแม่ตาย (ภาคกลาง), มะถั่วเน่า ถั่วเน่า ถั่วหนัง
(ภาคเหนือ), เถ๊าะหน่อ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ตบยั่ง (เมี่ยน), อาทรึ่ม (ปะหล่อง), โชยุ (ญี่ปุ่น), โซยาบีน (อังกฤษ), อึ่งตั่วเต่า เฮ็กตั่วเต่า (จีน-แต้จิ๋ว) เป็นต้น และถั่วเหลืองได้รับการขนานนามว่าเป็น “ราชาแห่งถั่ว” อีกด้วย
ถั่วเหลืองจัดเป็นพืชสำคัญและเก่าแก่ชนิดหนึ่งของโลก
ตามประวัติศาสตร์แล้วถั่วเหลืองนั้นมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนทางตอนกลางหรือทางเหนือซึ่งชาวจีนได้รู้จักการใช้ประโยชน์จากถั่วเหลือง และมีการปลูกถั่วเหลืองมายาวนานมากกว่า 4,700
ปีแล้วซึ่งประโยชน์ของถั่วเหลืองมีมากมายหลายประการและยังถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง
ๆ อย่างแพร่หลาย
ในปัจจุบันถั่วเหลืองเป็นพืชที่มีการเพาะปลูกกันอย่างแพร่หลายในเขตร้อนและเขตอบอุ่น แต่ให้ผลผลิตได้ดีในเขตอบอุ่น เพราะเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในเขตอบอุ่นนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตามผู้ผลิตถั่วเหลืองที่สำคัญที่สุดกลับเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งมีผลผลิตมากถึง 56% ของผลผลิตทั่วโลก
รองลงมาคือประเทศบราซิลและจีน
การปลูกและดูแลรักษาถั่วเหลือง
การปลูกถั่วเหลืองในดินที่เป็นกรดจัด
(pH
ต่ำกว่า 5.5) ควรลดความเป็นกรดของดินด้วยการใส่ปูน
ขาวอัตรา 100-200 กก./ไร่ สำหรับดินที่ค่อนข้างเป็นทราย
หรืออัตรา 200-400 กก./ไร่ สำหรับดินเหนียว ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ปุ๋ยเคมีการปลูกถั่วเหลืองโดยใช้เชื้อไรโซเบียมที่ถูกต้อง
คือทำให้เชื้อที่ ใส่ลงไปเข้าสู่รากเพื่อสร้างปมให้ได้มากที่สุด ดังนั้นสามารถทำได้โดยการนำมาคลุกกับเมล็ดก่อนปลูกจึงเป็น
วิธีการที่ได้ผลดีการคลุกเมล็ดด้วยเชื้อไรโซเบียม มีขั้นตอนดังนี้
1. นำเมล็ดที่จะนำมาปลูกใส่ลงในภาชนะ
2. ใส่สารที่ช่วยให้เชื้อติดเมล็ดดี หรือสารเหนียว เช่น น้ำเชื่อม
หรือแป้งเปียกเจือจาง โดยใช้สารเชื่อม ประมาณ 300 ลูกบาศก์เซนติเมตร
เทลงไปในเมล็ดถั่วเหลืองประมาณ 15 กิโลกรัม แล้วกวนเมล็ดเบาๆ
ให้เปียกทั่วกัน
3. ใส่เชื้อไรโซเบียม 1 ถุง หรือประมาณ 200 กรัม ลงในถังภาชนะที่มีเมล็ดถั่ว 15 กิโลกรัม
ซึ่งเคลือบด้วย สารเหนียวแล้ว คนเบาๆ จนกระทั่งทุกเมล็ดถั่วเหลืองมีผงเชื้อติดอย่างสม่ำเสมอไม่ควรบดขยี้เมล็ด
เพราะจะทำให้เมล็ดแตก ทำให้เปอร์เซ็นต์ความงอกลดลง
4. เมล็ดที่คลุกเชื้อ ควรนำไปปลูกทันทีอาจแบ่งปริมาณที่คลุกเชื้อแล้วบางส่วนไว้ในร่ม
หรือหาวัสดุที่รักษา ความชื้นปกปิด แล้วทยอยปลูกให้หมดภายใน 1 วัน
การปลูกถั่วเหลืองในฤดูแล้งหลังการทํานา
แนวทางการปฏิบัติในการปลูกถั่วเหลืองในฤดูแล้งหลังการทํานาเก็บเกี่ยวข้าว
เพื่อให้ได้ผลผลิตและผลตอบแทนสูง ควรพิจารณาตามแนวทางหรือนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ดังนี้
พันธุ์
พันธุ์ถั่วเหลืองที่ผ่านการรับรองพันธ์จากกรมวิชาการเกษตรและใช้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกในฤดูแล้ง
มี 6 พันธุ์ คือ สจ.2, สจ.4, สจ.5,
ชม.60, สท.2, และ มข.35 แต่ปัจจุบันทางราชการได้ผลิตพันธุ์และส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก จํานวน 3 พันธุ์ คือ สจ.4, สจ.5, และชม.60 ส่วนพันธุ์ สท.2 มข.35
และพันธุ์จักรพันธุ์ 1 เป็นพันธุ์ใหม่อยู่ในระหว่างทดสอบในไร่นาเกษตรกร
เพื่อหาความเหมะสมในแต่ละพื้นที่ และยืนยันผลการทดลองของกรมวิชาการเกษตรมหาวิทยาลัยขอนแก่น
และมหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่งเป็นสถาบันวิชาการที่ปรับปรุงและคัดเลือกพันธุ์ถั่วเหลืองทั้ง
3 พันธุ์ดังกล่าว โดยคาดว่าประมาณ 2-3
ปีจากนี้ไปจะสามารถขยายส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกได้
ระยะเวลาที่เหมาะสม
การปลูกถั่วเหลืองหลังนาจะปลูกได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับระยะเวลาการเก็บเกี่ยวข้าว
และน้ำชลประทาน ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม คือระหว่าง 1-31 ธันวาคม แต่ถ้าปลูกไม่ทัน ไม่ควรปลูกเกินวันที่ 15 มกราคม
เพราะจะมีปัญหาโรค แมลง ในระยะการเจริญเติบโต ในช่วงระยะออกดอกและเริ่มติดฝัก
อาจจะกระทบอากาศ ร้อนทําให้ดอกร่วง ไม่ติดฝัก และในช่วงเก็บเกี่ยวอาจถูกฝน ทําให้ผลผลิตคุณภาพต่ำ
เช่น เมล็ดบวม ย่น หรือ เมล็ดเน่าผลผลิตเสียหาย
เตรียมดิน
การปลูกถั่วเหลืองหลังนา
แยกการเตรียมดินออกเป็น 2 แบบ คือ
1.
ไถพรวน หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วไถดินให้ลึกประมาณ 15-20
ซม. ตากดินทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์ปล่อยให้น้ำท่วมแปลงแล้วระบายน้ำออกตากหน้าดินไว้
1-2 วัน แล้วไถพรวนก่อนปลูก
2.
ไม่ไถพรวน หลังจากการเก็บเกี่ยวแล้ว มีวิธีการปฏิบัติ 2 วิธีคือ
2.1 เผาฟาง โดยการตัดตอซังข้าว แล้วนําฟางข้าวจากการนวดข้าวมาเกลี่ยคลุมดินให้ทั่วแปลงแล้ว
เผาฟาง
2.2
ไม่เผาฟาง โดยการตัดตอซังข้าวให้สั้นก่อนปลูก ขั้นตอนการปฏิบัติต่อไป
หลังจากเผาฟางในข้อที่ 2.1 หรือตัดตอซังข้าวในข้อที่ 2.2
ปล่อยให้น้ำเข้า ท่วมแปลงประมาณครึ่งวัน ระบายน้ำออกตกหน้าดินไว้ 1-2
วัน ทําให้หน้าดินไม่แฉะ ก็ลงมือปลุกถั่วเหลืองได้
ทําร่องน้ำ
สิ่งจำเป็นมากที่ต้องทําในการเตรียมดินปลูกถั่วเหลือง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินเหนียว คือ การทําร่อง ระบายน้ำ หรือยกร่องปลูกถั่วเหลืองซึ่งการทําร่องระบายน้ำจะช่วยให้น้ำซึมทั่วแปลงได้อย่างรวดเร็วสม่ำเสมอ
ป้องกันน้ำขังแฉะ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เมล็ดถั่วเหลืองเน่าก่อนงอก หรือต้นถั่วเหลืองชะงักการเจริญเติบโต
หรือเน่าตาย โดยขุดร่องให้กว้างประมาณ 30 ซม.
แนบชิดคันนาทุกด้านและผ่านกลางแปลงนา โดยให้แต่ละแปลง กว้าง 3-5 เมตร
ปลูก
วิธีการปลูกที่ประหยัดเมล็ดพันธุ์และให้ผลผลิตสูง
คือ
1.
ปลูกเป็นหลุม ควรใช้ระยะห่างระหว่างหลุม 20-30 ซม. ระยะแถว 25-30 ซ.ม. โดยปลูก หลุมละ 3-4 ต้น (ควรหยอดเมล็ดหลุมละ 3-5 เมล็ด เพื่อจะงอก 3-4
ต้น)
2.
ปลูกโดยโรยเป็นแถว โดยใช้เครื่องหยอด ซึ่งมีทั้ง ชนิดที่ใช้กับการเตรียมดิน
โดยการไถพรวนและไม่ไถพรวน ควรใช้ระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 30 ซ.ม. ให้มีจํานวนต้น ประมาณ 20 ต้นต่อระยะแถวยาวประมาณ
1 เมตร การใช้ระยะระหว่างแถว 30 ซ.ม.
จะสัมพันธ์กับการใช้ เครื่องเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองแบบวางรายมีประสิทธิภาพ
ให้น้ำ
ภาพตัวอย่างแปลงถั่วเหลือง
ให้น้ำ
การปลูกถั่วเหลือในฤดูแล้งหลังการทํานา ต้องมีการให้น้ำอย่างเพียงพอ ครั้งแรกให้ก่อนปลูกและต่อไป ให้ประมาณ 10 วันต่อครั้ง แต่ถ้ามีการคลุมฟางหลังการปลูกถั่วเหลือง อาจให้น้ำ 15-20 วันต่อครั้งดังนี้
1. ปล่อยน้ำไปตามร่องน้ำ โดยจะต้องให้น้ำซึมเข้าแปลงให้ผิวดินมีความชื้นอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง ทั้งแปลง ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพราะน้ำจะไหลไปตามร่องได้เร็วที่สุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยาวของร่องและความ ลาดเทของแปลง น้ำจะซึมเข้าร่องปลูกได้อย่างสม่ำเสมอ
2. ปล่อยน้ำให้ทั่วแปลง แล้วระบายออกให้เหลือเฉพาะน้ำที่ขังในร่องระบายน้ำเท่านั้น
โรคและการป้องกันกําจัด
โรคถั่วเหลืองที่พบในฤดูแล้งจะมีไม่มากนักที่สําคัญ
คือ
1. โรครากและโคนเน่า
เกิดจากเชื้อราหลายชนิดที่อาศัยอยู่ในดิน
ถั่วเหลืองที่เป็นโรคนี้จะมีอาการใบเหลือง เหี่ยวลง และตาย ในที่สุด การแพร่ระบาดจะพบในฤดูแล้ง
ทั้งนี้เพราะการปลูกถั่วเหลืองในฤดูแล้งจะอาศัยการปล่อยน้ำเข้าแปลง ถ้าพื้นที่ไม่สม่ำเสมอน้ำจะขังแฉะเป็นแห่ง
ๆ เชื่อราสาเหตุที่อยู่ในดิน จะเจริญเติบโตเข้าทำลายถั่วเหลืองทําให้ ถั่วเหลืองเน่าตาย
การป้องกันกําจัด
- ปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ อย่าให้มีน้ำขังแฉะ
- อย่าปล่อยให้น้ำผ่าแปลง
หรือบริเวณที่เป็นโรคไปสู่บริเวณอื่น
-
ถอนต้นที่เป็นโรคทิ้ง
-
ไถตากหน้าดิน หรือไถให้ลึกกว่าปกติเพื่อฝังเชื้อรา เช่น
เมล็ดสเคอโรเตียม
2.
โรควิสาใบด่าง
เกิดจากเชื้อวิสา ถั่วเหลืองที่เป็นโรคนี้จะมีใบด่างสีเหลืองแกมเขียว
ผิวใบเป็นคลื่น ถ้าอาการรุนแรง จะทําให้ต้นเตี้ยแคระแกร็น ข้อและต้นสั้น ยอดแห้งตาย
โรคนี้ระบาดทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน โดยมีเพลี้ยอ่อน เป็นพาหะ และถ่ายทอดทางเมล็ดได้
ถ้าเป็นโรครุนแรงถึงขั้นแคระแกร็นจะติดฝักน้อยหรือไม่ติดเลย คุณภาพ เมล็ดไม่ดีเมล็ดด่าง
การป้องกันกําจัด
- ถอนต้นที่เป็นโรคทิ้ง
- ไม่นําเมล็ดจากต้นที่เป็นโรคมาปลูกต่อ
- หลังจากจับต้นที่เป็นโรคแล้ว
ควรล้างมือให้สะอาดก่อนจับต้นถั่วเหลือที่ปกติเพราะเชื้อโรคแพร่โดย ทางสัมผัส
-
พ่นสารเคมีฆ่าแมลง เช่น โมโนโครโตฟอส เพื่อกําจัดเพลี้ยอ่อนในอัตรา 20
ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
แมลงศัตรูถั่วเหลืองและการป้องกันกําจัด
1.
หนอนเจาะฝัก
ลักษณะการทำลาย
หนอนจะเข้าทำลายในระยะติดฝักอ่อน ส่วนมากจะไม่เจาะทำลายทั้งฝัก แต่ชอบ กัดทำลายตรงขั้วฝักทําให้ฝักร่วงหล่น
แล้วเจาะฝักอื่นต่อไป เมื่อฝักอ่อนหมดจะกัดกินดอกจนหมด แล้วกัดกิน ยอดและใบอ่อนต่อไป
การป้องกันกําจัด
- พ่นด้วยไชฮาโลทรินแอล 2.5
% อีซี (คาราเต้ 2.5 อีซี) หรือไตรอะโซฟอส 40
% อีซี (ฮอสตาธีออน 40 อีซี) หรือไทโอดิคาร์บ 37.5
% เอฟ (ลาร์วิน 37.5 เอฟ) ครั้งต่อไปถ้าจำเป็นพ่น
1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน
2.
หนอนม้วนใบ
ลักษณะการทำลาย
หนอนเมื่อฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ จะรวมกันเป็นกลุ่ม ชักใยบางๆ ปกคลุมตัวเองไว้ แล้วกัดกินผิวใบ
เมื่อโตขึ้นจะม้วนเข้าหาต้น หรือชักใยดึงเอาใบหลายๆ ใบมาห่อรวมกัน แล้วจะอาศัยกินใบอยู่
ในนั้นจนเหลือแต่เส้นใย เมื่อกัดกินใบหมดแล้ว ก็จะเคลื่อนย้ายไปม้วนใบอื่นต่อไป ถ้าระบาดเมื่อต้นพืชยังอยู่
ในระยะการเจริญเติบโตหรือระยะออกดอกและติดฝักอ่อนจะก่อให้เกิดความเสียหาย
การป้องกันกําจัด
-
พ่นด้วยไซฮาโลทริน แอล 2.5 %อีซี (คาราเต้ 2.5
อีซี) หรือคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี (พอสซ์) หรือ
ไครอะโซฟอส 40% อีซี (ฮอสตาธีออน 40 อีซี)
2-3 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน เมื่อพบว่าการระบาดของหนอน
ทําให้ใบเสียหายถึง 30%
การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองให้ได้คุณภาพ
มีข้อพิจารณาดังนี้
1. เก็บเกี่ยวตามอายุกล่าว คือ
ถั่วเหลือพันธุ์ สจ.4, สจ.5, สุโขทัย 2
และเชียงใหม่ 60 มีอายุการเก็บ เกี่ยวโดยประมาณ
90 วัน แต่หากอุณหภูมิต่ำ และดินมีความชื้นสูง อาจจะแก่ช้าออกไปอีกได้
หรือหากดินมีความชื้นต่ำ จะทําให้ถั่วเหลืองแก่ได้เร็วขึ้นกว่ากําหนด
2.
สังเกตจากสีของฝัก ถั่วเหลืองจะแก่จากโคนต้นขึ้นไป ฝักจะเปลี่ยนจากสีเขียวไปเป็นสีฟางหรือสีน้ำตาล
แสดงว่าฝักแก่เหมาะที่จะทําการเก็บเกี่ยว เมื่อเห็นฝักแก่ประมาณ 1 ใน 3 ของต้น ก็เริ่มเก็บเกี่ยวได้
วิธีการเก็บเกี่ยว
ใช้มีดหรือเคียวตัดโคนต้น
หรือใช้เครื่องเก็บ เกี่ยวแบบวางราย นำมาตัดเป็นฟ่อนตั้งกองทิ้งไว้ โดยเอาด้านโคนต้นลงดิน
จนกระทั่วใบถั่วเหลืองร่วง (ประมาณ 5-7 วัน) แล้วนำไปนวดด้วยเครื่องนวด ข้าวที่ปรับความเร็วรอบของลูกนวดอยู่ ระหว่าง
450-500 รอบต่อวินาที ทําความสะอาดคัดขนาดตากให้แห้ง ใส่กระสอบจำหน่ายต่อไป
ลักษณะของถั่วเหลือง
ต้นถั่วเหลือง ลำต้นตั้งตรง
ลักษณะเป็นพุ่ม แตกแขนงค่อนข้างมาก มีความสูงประมาณ 30-150 เซนติเมตร
โดยความสูงจะขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของดิน ความชื้น และฤดูที่เพาะปลูก
ลำต้นมีขนปกคลุมอยู่ทั่วไป ยกเว้นในส่วนของใบเลี้ยงและกลีบดอก
และต้นถั่วเหลืองยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
ชนิดทอดยอดและชนิดไม่ทอดยอด เมื่อเมล็ดแก่ฝักจะแห้งและต้นจะตายตามไปด้วย
จึงเป็นที่มาของชื่อ “ถั่วแม่ตาย”
รากถั่วเหลือง มีระบบเป็นรากแก้ว
หากเป็นดินร่วนอาจหยั่งรากลึกถึง 0.5-1 เมตร
แต่โดยทั่วไปแล้วระบบรากจะอยู่ในความลึกประมาณ 30-45 เซนติเมตร
ซึ่งประกอบไปด้วยรากแก้วที่เจริญมาจากรากแรกของต้น
และมีรากแขนงที่เจริญมาจากรากแก้ว
ส่วนบริเวณปมรากนั้นเกิดจากแบคทีเรียไรโซเบียมที่เข้าไปอาศัยอยู่
ใบถั่วเหลือง ระยะต้นอ่อนจะมีใบเลี้ยง
ใบจริงคู่แรกเป็นใบเดี่ยว โดยใบจริงที่เกิดขึ้นต่อมาจะเป็นใบประกอบแบบ 3 ใบย่อย คือ มีใบย่อยด้านปลาย 1 ใบและมีใบย่อยด้านข้างอีก
2 ใบ ลักษณะของใบมีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปไข่จนถึงเรียวยาว
ส่วนที่โคนของก้านใบประกอบจะมีหูใบอยู่ 2 อัน
และส่วนที่โคนของก้านใบย่อยมีหูใบย่อยอยู่ 1 อัน
ที่ใบมีขนสีน้ำตาลหรือเทาปกคลุมอยู่ทั่วไป
ดอกถั่วเหลือง ออกดอกเป็นช่อ
มีช่อดอกเป็นแบบกระจะ ดอกมีสีขาวหรือสีม่วง โดยสีขาวเป็นลักษณะด้อย
เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 3-8 มิลลิเมตร
โดยดอกจะเกิดตามมุมของก้านใบหรือตามยอดของลำต้น ในหนึ่งช่อดอกจะมีดอกตั้งแต่ 3-15
ดอก โดยช่อดอกที่เกิดบนยอดของลำต้น มักจะมีจำนวนดอกในช่อมากกว่าช่อดอกที่เกิดตามมุมใบ
และในส่วนของดอก ประกอบไปด้วยก้านช่อดอกและก้านดอกย่อย
กลีบเลี้ยงที่อยู่นอกสุดมีสีเขียว สั้น มีอยู่ 2 กลีบและมีขนปกคลุม
ถัดมาคือกลีบรองดอกที่อยู่ในชั้นถัดจากกลีบเลี้ยง ฐานติดกันมีแฉก 5 แฉก ถัดมาคือส่วนของกลีบดอก มี 5 กลีบ คือ กลีบใหญ่ 1
กลีบ กลีบกลางด้านข้าง 2 กลีบ และกลีบเล็ก 2
กลีบ
ฝักถั่วเหลือง ออกฝักเป็นกลุ่ม
กลุ่มละประมาณ 2-10 ฝัก
ที่ฝักมีขนสีเทาหรือสีน้ำตาลปกคลุมอยู่ทั่วฝัก ฝักมีความยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร ในแต่ละฝักจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 1-5 เมล็ด
แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีอยู่ 2-3 เมล็ด ฝักอ่อนมีสีเขียว
เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และเมื่อฝักแตกออกจะทำให้เมล็ดร่วงออกมา
เมล็ดถั่วเหลือง เมล็ดอาจมีสีเหลือง สีเขียว
สีน้ำตาล หรือสีดำก็ได้ โดยเมล็ดจะมีขนาดและรูปร่างต่างกัน
ลักษณะของเมล็ดมีตั้งแต่กลมรีจนถึงยาว หากเป็นเมล็ดขนาดเล็กจำนวน 100 เมล็ด จะมีน้ำหนักประมาณ 2 กรัม
แต่ถ้าหากเป็นเมล็ดใหญ่อาจมีน้ำหนักมากกว่า 40 กรัม
แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 12-20 กรัม
สรรพคุณของถั่วเหลือง
1.ใช้เป็นยาบำรุงโลหิต ด้วยการใช้เปลือกเมล็ดแห้งประมาณ 10-15 กรัมมาต้มกับน้ำดื่ม
(เปลือกเมล็ด)
2. กากถั่วเหลืองช่วยป้องกันการอุดตันของไขมันในเส้นเลือด (กากเมล็ด)
3.ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง และมีบางการศึกษาระบุว่า
การบริโภคถั่วเหลืองเป็นประจำ อาจช่วยลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในเพศชาย
และมะเร็งเต้านมในเพศหญิงวัยที่ยังมีประจำเดือน
แต่อาจเพิ่มโอกาสของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมในเพศหญิงวัยที่หมดประจำเดือนแล้วได้
ซึ่งเป็นผลมาจากสารไฟโตเอสโตรเจน แต่อย่างไรก็ตาม
ยังไม่มีการศึกษาที่สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจน และยังไม่สามารถระบุได้ว่า
ถั่วเหลืองสามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ ช่วยป้องกันโรคมะเร็งของเนื้อเยื่อระบบสืบพันธุ์
(สารไฟโตเอสโตรเจน) ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งช่องคลอด มะเร็งต่อมลูกหมาก (Isoflavones) และจากงานศึกษาในประเทศญี่ปุ่นและจีนพบว่า
· ผู้ที่กินซุปเต้าเจี้ยวมากจะมีอัตราเสี่ยงต่อโรคมะเร็งต่ำกว่า
·ผู้ที่ชอบรับประทานซุปที่ทำจากถั่วเหลือง จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเพียง 1 ใน 3 ของผู้ที่ไม่ได้รับประทาน
·ผู้ที่รับประทานเต้าหู้มากจะมีอัตราเสี่ยงต่อโรคมะเร็งกระเพาะอาหารต่ำ
· ผู้ที่กินถั่วเหลืองมากกว่า 5 กิโลกรัมต่อปี
จะมีอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารลดลง 40%
·ผู้ชายที่กินเต้าหู้มากกว่า 5 ครั้งต่อสัปดาห์ จะมีอัตราเสี่ยงต่อโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นครึ่งหนึ่งของผู้ชายที่กินเต้าหู้น้อยกว่า
1 ครั้งต่อสัปดาห์
·ผู้ที่รับประทานอาหารที่ประกอบด้วยถั่วเหลืองน้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม
2 เท่า และมะเร็งปอดเป็น 3.5 เท่าของผู้ที่กินอาหารที่ประกอบด้วยถั่วเหลืองทุกวัน สำหรับมะเร็งปอด สารไอโซฟลาโวนจะช่วยถ่วงการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งไว้
(แต่ต้องไม่ใช้ถั่วเหลืองที่ผ่านการหมัก
และจะได้ประโยชน์เฉพาะกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่)
·การบริโภคอาหารที่มีโปรตีนจากถั่วเหลืองจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งได้ถึง
30% (ข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติ)
·จากการศึกษาทดลองพบว่า Isoflavones สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของก้อนมะเร็งในสัตว์ทดลองได้
4.ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
5.กรดไขมันไม่อิ่มตัวในถั่วเหลืองสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้และจากการศึกษาพบว่า
ถั่วเหลืองมีฤทธิ์ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ถึง15-20%โดยผลจากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาเลียนที่ได้ทำการทดลองในคนไข้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลมากกว่า
300 เนื่องมาจากพันธุกรรม และจากการศึกษาพบว่า
ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีโปรตีนจากถั่วเหลือง 25 กรัมต่อวัน
เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับไขมันเลว
(LDL) ลดลงร้อยละ 18 และมีระดับไขมันดี
(HDL) ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20
6.ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
โดยองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ และสมาคมแพทย์โรคหัวใจในสหรัฐฯ ให้คำแนะนำว่า
ให้รับประทานโปรตีนจากถั่วเหลืองวันละ 25 กรัม จะช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวได้ และช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด (สารไฟโตเอสโตรเจน)
7.เส้นใยอาหารจากถั่วเหลืองสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้ (แอนดริว พี โกลด์เบิร์ก)
และผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยโตรอนโต ดร.เดวิด เจนคินส์ ยังกล่าวว่า
ถั่วเหลืองเป็นพืชที่ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีที่สุด
8.ช่วยป้องกันการขาดแคลเซียมช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของกระดูก ช่วยลดความรุนแรงของโรคกระดูกผุ ช่วยลดการสลายของกระดูก และป้องกันโรคกระดูกพรุน
9.ช่วยบำบัดและรักษาผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต
เนื่องจากถั่วเหลืองมีสารไอโซฟลาโวน ที่ช่วยทำให้เลือดลมเดินสะดวก
ซึ่งเป็นผลการศึกษาของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮ่องกงที่ทำการศึกษากับคนไข้ 102 รายที่เป็นอัมพาตเพราะเส้นเลือดเลี้ยงสมองอุดตันมาก่อนและเป็นโรคหัวใจในเวลาต่อมา
10.ช่วยขับร้อน สลายน้ำ ถอนพิษ
11.ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง เนื่องจากถั่วเหลืองมีธาตุเหล็กสูง
แต่ในขณะเดียวกันก็มีสารต้านการดูดซึมธาตุเหล็กด้วย
ดังนั้นการจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้จะต้องรับประทานร่วมกับอาหารชนิดอื่น
ๆ เช่น เนื้อสัตว์หรือวิตามินซีจากผลไม้ เป็นต้น
12.ดอกสดใช้เป็นยารักษาต้อกระจก
13.การบริโภคถั่วเหลืองเป็นประจำจะช่วยบำรุงปอดให้แข็งแรงขึ้น
และช่วยลดโอกาสของการเป็นโรคถุงลมโป่งพอง
14.ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย
ช่วยในการเผาผลาญอาหารในกระเพาะอาหารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (ไขมันไม่อิ่มตัว)
15.ช่วยแก้โรคบิด อาการแน่นท้อง
16.ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการท้องผูก
และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคริดสีดวงทวาร
17.ช่วยขับปัสสาวะ ด้วยการใช้เมล็ดแห้งประมาณ 30-90 กรัมนำมาต้มกิน
หรือจะใช้เปลือกเมล็ดแห้งประมาณ 10-15 กรัม
นำมาต้มกับน้ำดื่มก็ได้ (เมล็ด, เปลือกเมล็ด)
18.สำหรับผู้ที่เป็นโรคไตที่ต้องจำกัดการรับประทานโปรตีนและคอเลสเตอรอล
แต่โปรตีนจากถั่วเหลืองเป็นอาหารที่ผู้ป่วยโรคไตสามารถรับประทานทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้
โดยพบว่าการทำงานของไตดีขึ้น
และยังช่วยลดอุบัติการณ์ของการเกิดโรคนิ่วในไตได้อีกด้วย
19.ใบสดใช้เป็นยารักษาภายนอก
ด้วยการนำมาตำแล้วพอกรักษาคนที่ถูกงูกัด โดยพอกวันละ 3 ครั้ง
20.ช่วยแก้ปวด โดยถั่วเหลืองอุดมไปด้วยสารไอโซฟลาโวนที่มีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการอักเสบตามไขข้อ ซึ่งการรับประทานถั่วเหลืองวันละ 40 กรัมก็จะช่วยแก้และป้องกันอาการปวดได้
คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลือง
ต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 446 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 30.16 กรัม
- น้ำ 8.54 กรัม
- น้ำตาล 7.33 กรัม
- เส้นใย 9.3 กรัม
- ไขมัน 19.94 กรัม
- ไขมันอิ่มตัว 2.884 กรัม
- ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 4.404 กรัม
- ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 11.255 กรัม
- โปรตีน 36.49 กรัม
- ทริปโตเฟน 0.591 กรัม
- ทรีโอนีน 1.766 กรัม
- ไอโซลิวซีน 1.971 กรัม
- ลิวซีน 3.309 กรัม
- ไลซีน 2.706 กรัม
- เมทไธโอนีน 0.547 กรัม
- ซิสทีน 0.655 กรัม
- ฟีนิลอะลานีน 2.122 กรัม
- ไทโรซีน 1.539 กรัม
- วาลีน 2.029 กรัม
- อาร์จินีน 3.153 กรัม
- ฮิสตามีน 1.097 กรัม
- อะลานีน 1.915 กรัม
- กรดแอสพาร์ติก 5.112 กรัม
- กลูตามิก 7.874 กรัม
- ไกลซีน 1.880 กรัม
- โพรลีน 2.379 กรัม
- ซีรีน 2.357 กรัม
- วิตามินเอ 1 ไมโครกรัม 0%
- วิตามินบี 1 0.874 มิลลิกรัม
76%
- วิตามินบี 2 0.87 มิลลิกรัม 73%
- วิตามินบี 3 1.623 มิลลิกรัม
11%
- วิตามินบี 5 0.793 มิลลิกรัม
16%
- วิตามินบี 6 0.377 มิลลิกรัม
29%
- วิตามินบี 9 375 ไมโครกรัม 94%
- โคลีน 115.9 มิลลิกรัม 24%
- วิตามินซี 6.0 มิลลิกรัม 7%
- วิตามินอี 0.85 มิลลิกรัม 6%
- วิตามินเค 47 ไมโครกรัม 45%
- ธาตุแคลเซียม 277 มิลลิกรัม 28%
- ธาตุเหล็ก 15.7 มิลลิกรัม 121%
- ธาตุแมกนีเซียม 280 มิลลิกรัม 79%
- ธาตุแมงกานีส 2.517 มิลลิกรัม 120%
- ธาตุฟอสฟอรัส 704 มิลลิกรัม 101%
- ธาตุโพแทสเซียม 1,797 มิลลิกรัม 38%
- ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม 0%
- ธาตุสังกะสี 4.89 มิลลิกรัม 51%
ข้อควรระวังในการรับประทานถั่วเหลือง
- สำหรับบางรายอาจมีอาการแพ้ถั่วเหลืองได้ (แต่พบได้น้อยมาก)
โดยจะเกิดผื่นคันหลังจากการรับประทาน
- การบริโภคโปรตีนจากถั่วเหลือง
อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงเล็กน้อยและไม่รุนแรงมาก
โดยมากแล้วจะเป็นอาการที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น มีอาการท้องอืด
แน่นท้อง ท้องผูก เป็นต้น แต่มักจะเกิดในเด็กที่มีประวัติเป็นโรคหอบหืด
หรือผู้ที่มีอาการแพ้ผลิตภัณฑ์จากถั่ว
- เด็กทารกที่ดื่มน้ำนมถั่วเหลืองเพียงอย่างเดียวจะมีโอกาสที่ต่อมไทรอยด์จะทำงานต่ำกว่าปกติได้
(แต่ในปัจจุบันนมถั่วเหลืองสำหรับทารกมักจะมีการเติมไอโอดีนเพื่อป้องกันภาวะดังกล่าวอยู่แล้ว)
- การรับประทานถั่วเหลืองเป็นประจำอาจทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ
(Hypothyroidism) โดยอาการที่พบได้บ่อย
ๆ ก็คือ เจ็บส้นเท้า มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง กินนิดเดียวก็อ้วน
และอาจทำให้มะเร็งดื้อต่อการรักษาแบบธรรมชาติบำบัด
- มีบางการศึกษาที่ระบุว่า การรับประทานถั่วเหลืองในปริมาณสูงเป็นประจำ
อาจเกิดปัจจัยเสี่ยงทำให้สมองฝ่อได้ แต่ยังไม่มีการศึกษาที่ยืนยันอย่างชัดเจน และมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารดีเมนเทียส์ แอนด์ เกเรียทริก
ค็อกนิทีฟ ดิสออร์เดอร์ส ได้ระบุว่า
การได้รับไฟโตเอสโตรเจนในปริมาณมากอาจทำให้จิตเสื่อมได้
(งานวิจัยของมหาวิทยาลัยลัฟโบโรห์ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และนักวิจัยจากอินโดนีเซีย)
โดยการรับประทานเต้าหู้มากกว่าวันละหนึ่งมื้อ
อาจทำให้การทำงานของสมองเสื่อมลงถึง 20% แต่การรับประทานเทมเป้หมักกลับช่วยเพิ่มความจำ
เพราะอาหารชนิดนี้อุดมไปด้วยโฟเลตและยังช่วยลดความเสี่ยงของโรคจิตเสื่อมได้
- การรับประทานถั่วเหลืองหรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ไม่ควรบริโภคในปริมาณสูงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เป็นมะเร็งเต้านม
มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งต่อมลูกหมาก
หรือในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านฮอร์โมนชนิดต่างๆควรระมัดระวังในการบริโภคด้วย เพราะโรคมะเร็งดังกล่าวมีปัจจัยเสี่ยงมาจากฮอร์โมนเอสโตรเจน
คำแนะนำในการรับประทานถั่วเหลือง
- สำหรับวิธีการเพิ่มการบริโภคถั่วเหลืองในชีวิตประจำวันมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี
เช่น การดื่มนมถั่วเหลือง ใช้เนื้อเทียมหรือโปรตีนเกษตร ใช้น้ำนมถั่วเหลืองในการทำเค้ก
ใช้แป้งถั่วเหลืองแทนแป้งสาลี ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลืองต่าง ๆ
หรือใช้ถั่วเหลืองฝักอ่อนและถั่วงอกหัวโตเป็นส่วนประกอบในอาหาร
หรือใช้ถั่วงอกในการทำอาหารเมนูต่าง ๆ เช่น ผัดกับผัก ทำเป็นแกงจืด เป็นต้น
- เมล็ดถั่วเหลืองแก่มีสารยับยั้งเอนไซม์บางชนิดที่ช่วยย่อยโปรตีน
จึงต้องทำให้สุกเสียก่อนจึงจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ และสำหรับผู้ที่เกิดอาการอาเจียนหรือมีอาการท้องร่วงหลังการดื่มน้ำเต้าหู้
จนเข้าใจว่าเป็นอาการแพ้
สาเหตุอย่างหนึ่งของอาการดังกล่าวอาจเกิดจากการดื่มน้ำเต้าหู้ที่ไม่เดือดเต็มที่
ทำให้ไม่สามารถทำลายสารซาโพนีนได้
- แม้ว่านมถั่วเหลืองจะสามารถใช้ทดแทนนมวัวได้
แต่สำหรับในเด็กที่ไม่ได้แพ้นมวัวก็ไม่ควรที่จะดื่มนมถั่วเหลืองแทนนมวัวเนื่องจากอยู่ในช่วงวัยเจริญเติบโต
เพราะนมวัวมีแคลเซียมมากกว่านมถั่วเหลือง ให้พลังงานมากกว่า
มีโปรตีนที่สมบูรณ์กว่า แต่ทั้งนี้ยังสามารถดื่มร่วมกับนมวัวได้
- การเลือกซื้อนมถั่วเหลือง
ควรดูรายละเอียดที่ข้างกล่องด้วย
ซึ่งนมถั่วเหลืองที่ดีต่อสุขภาพนั้นนอกจากจะมีโปรตีนที่สูงแล้ว
ยังต้องมีแคลเซียมสูงด้วย
- น้ำมันถั่วเหลือง ไม่ควรนำมาใช้ในการทอดอาหาร
เพราะเป็นน้ำมันที่ไม่คงตัวและเสื่อมสภาพเร็ว แต่น้ำมันถั่วเหลืองจะนิยมนำมาใช้ผัด
(จากประสบการณ์นะคะ)
- การเก็บถั่วเหลืองไว้นานเกินไป
หรือเก็บรักษาไม่ดี เต้าหู้หรือเต้าเจี้ยวอาจมีการปนเปื้อนของสาร อะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) ได้ ซึ่งเป็นสารที่ก่อมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งตับ
อ้างอิง 1. https://medthai.com/%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87/
2http://eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/rice/peanut2.pdf
2http://eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/rice/peanut2.pdf
เอกสารอ้างอิง
1. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
(สวก.) องค์การมหาชน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.arda.or.th.
[27 ต.ค. 2013].
2. คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล. กรีนไฮเปอร์มาร์ท
สารานุกรมผลิตผลและผลิตภัณฑ์จากพืชในซุปเปอร์มาร์เก็ต ฉบับคอมพิวเตอร์.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.sc.mahidol.ac.th.
[27 ต.ค. 2013].
3.ภาควิชาพืชไร่นา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. “ถั่วเหลือง (Soybean)“.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : gri.kps.ku.ac.th.
[27 ต.ค. 2013].
4. คณะทรัพยากรธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.natres.psu.ac.th.
[27 ต.ค. 2013].
5.ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหารครบวงจร.
“Soybean
/ ถั่วเหลือง”. (ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ
พรเฉลิมพงศ์, ศาสตราจารย์เกียรติคุณดร.นิธิยา รัตนาปนนท์).
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.foodnetworksolution.com.
[23 ต.ค. 2013].
6.สำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน.“มหัศจรรย์พลังของถั่ว“.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dol.go.th.
[27 ต.ค. 2013].
7. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย.
ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้. (เต็ม
สมิตินันทน์).
8.โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง
สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
eherb.hrdi.or.th. [27 ต.ค. 2013].
9.สมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย.
(ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์). [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก : portal.in.th/thastro.org. [26 ต.ค. 2013].
10. มูลนิธิหมอชาวบ้าน.
นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 222 คอลัมน์
: ต้นไม้ใบหญ้า. “ถั่วเหลือง
พืชพื้นบ้านที่เป็นอนาคตของมนุษยชาติ“. (เดชา
ศิริภัทร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th.
[27 ต.ค. 2013].
11. มูลนิธิหมอชาวบ้าน.
นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 370 คอลัมน์
: เรื่องน่ารู้. “นมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม“.
(อรพินท์ บรรจง). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th.
[27 ต.ค. 2013].
12.มูลนิธิหมอชาวบ้าน.
นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 314 คอลัมน์ :
เรื่องเด่นจากปก. “ผู้หญิงวัยทองกับประโยชน์ของถั่วเหลือง“.
(ผศ.ดร.ศรีวัฒนา ทรงจิตสมบูรณ์). [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th. [27 ต.ค. 2013].
13.มูลนิธิหมอชาวบ้าน.
นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 30 คอลัมน์
: กินถูก…ถูก. “นมถั่วเหลือง นมเพื่อชนทุกชั้น“.
(ศ.นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์). [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th. [27 ต.ค. 2013].
14.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
(สสส.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaihealth.or.th.
[27 ต.ค. 2013].
15.GotoKnow. “นมถั่วเหลือง…ดีจริง ๆ“.
(ฉันทลักษณ์ อาจหาญ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
www.gotoknow.org. [27 ต.ค. 2013].
16.ainews1. “ประโยชน์และโทษของถั่วเหลือง“.
อ้างอิงใน : นายแพทย์เปี่ยมโชค ชลิดาพงศ์, Dr.Lita
Lee, และ The Weston A. Price Foundation for Wise
Traditions in Food, Farming, and the Healing Arts. “Soy Alert!“.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.westonaprice.org.,
ainews1.com. [27 ต.ค. 2013].
17. Mthai. “ไขปริศนาประโยชน์ของนมถั่วเหลือง“.
(แพทย์หญิงธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล). [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก : talk.mthai.com. [27 ต.ค. 2013].
ภาพประกอบ : www.doa.go.th,
www.livingcropmuseum.info, www.flickr.com (by jhyerczyk, Carl E Lewis,
rodrigogzz, IITA Image Library), www.bloggang.com (by Hard-call, แม่น้องกะบูน,
พนอจัน, เนเวอร์แลนด์)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น